วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

บทประพันธ์ ละครโทรทัศน์ที่นำมาทำซ้ำ (Remake Story)

ผมเลือก
เรื่องราวเกี่ยวกับหลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ยกทัพไปตีเมืองแกลงและได้ทรงหลั่งอุทกธาราประกาศตัดไมตรีกับพม่า เสมาลูกชายช่างตีเหล็กได้เป็นทหารสมกับความมุ่งมั่น แต่เกิดไปมีเรื่องกับหัวหมู่ จึงต้องหนีเตลิดเข้าป่าและได้พบกับทหารหลวงอีกกลุ่มหนึ่ง เสมาจึงอาสาร่วมรบตีทัพพม่าจนแตกกระเจิง เมื่อบ้านเมืองสงบลง เสมาจึงได้รับยศเป็นขุนแสนศึกพ่ายและได้แต่งงานกับแม่หญิงเรไร

บทประพันธ์เรื่องขุนศึกถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์รวม 5 ครั้ง
-
ปี 2502 (เป็นรูปแบบละครสด ออกอากาศทางช่อง 4) นำแสดงโดยคุณกำธร  สุวรรณปิยะศิริ และคุณอารีย์  นักดนตรี

- ปี 2520 (ทางช่อง 5) นำแสดงโดยคุณพิศาล  อัครเศรณี และคุณผุสดี พลางกูร

-
ปี 2523 (เป็นรูปแบบภาพยนตร์ละคร ออกอากาศทางช่อง 3) นำแสดงโดยคุณโกวิท  วัฒนกุล และคุณนิภาพร  นงนุช
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/c/cf/%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81_%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87_3.jpg/220px-%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81_%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87_3.jpg

- ปี 2538 (ทางช่อง 9) นำแสดงโดยคุณธนายง  ว่องตระกูล และคุณวิมลเรขา  ศิริชัยราวรรณ

- ปี 2555 (ทางช่อง 3) นำแสดงโดยคุณอธิชาติ  ชุมนานนท์ และคุณเฌอมาลย์  บุณยศักดิ์

***และถูกสร้างในรูปแบบภาพยนตร์ 2 ครั้งในปี 2519 และ 2546
รายชื่อนักแสดงและการสร้างขุนศึก
ปีพ.ศ. 2502พ.ศ. 2519พ.ศ. 2520พ.ศ. 2523พ.ศ. 2538พ.ศ. 2546พ.ศ. 2555
รูปแบบละครแสดงสด ช่อง 4ภาพยนตร์ 35 มม.ละคร ช่อง 5ภาพยนตร์ละคร ช่อง 3ละคร ช่อง 9ภาพยนตร์ 35 มม.ละคร ช่อง 3
ผู้สร้างคณะนาฏศิลป์สัมพันธ์ไฟว์สตาร์โปรดักชั่นรัชฟิลม์ไฟว์สตาร์โปรดักชั่นอัครมีเดีย2002 บิ๊ก เบสท์ทีวีซีน
ผู้กำกับทัต เอกทัตสักกะ จารุจินดาสมจินต์ ธรรมทัตสักกะ จารุจินดาสะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ธนิตย์ จิตนุกูลอดุลย์ บุญบุตร
เสมากำธร สุวรรณปิยะศิริสมบัติ เมทะนีพิศาล อัครเศรณีโกวิท วัฒนกุลธนายง ว่องตระกูลวรวิทย์ แก้วเพชรอธิชาติ ชุมนานนท์
แม่หญิงเรไรอารีย์ นักดนตรีนัยนา ชีวานันท์ผุสดี พลางกูลนิภาพร นงนุชวิมลเรขา ศิริชัยราวรรณสาวิณี ภู่การุณเฌอมาลย์ บุญยศักดิ์
หมู่ขันสมจินต์ ธรรมทัตมานพ อัศวเทพวุฒิ คงคาเขตสุเชาว์ พงษ์วิไลพลรัตน์ รอดรักษาปราบต์ปฎล สุวรรณบางวรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
ดวงแขนวละออ ทองเนื้อดีดวงใจ หทัยกาญจน์สุกัญญา นาคสนธิหรรษา จริยาพร /
พิมพ์ใจ พรหมมาลี
ปวีณา ชารีฟสกุลธิดารัตน์ จันทร์ดาราพรชิตา ณ สงขลา
จำเรียงธัญญรัตน์ โลหะนันท์ดิถีทิพ เกสะวัฒนะวาสนา พลเยี่ยมพิมทอง กลิ่มสมิทธิ์ภัทรินทร์ เจียรสุข
ขุนรามเดชะทัต เอกทัตสะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ตรัยเทพ เทวะผลินสมบัติ เมทะนีสะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์นิรุตติ์ ศิริจรรยา
สมบุญทนงศักดิ์ ภักดีเทวาสายัณห์ จันทรวิบูลย์ชูศักดิ์ สุธีรธรรมวีระชัย หัตถโกวิทแผลงฤทธิ์ แสงชาเกียรติกมล ล่าทา
หมู่สินจำรูญ หนวดจิ๋มจีระศักดิ ปิ่นสุวรรณรอง เค้ามูลคดีภุมรินทร์ จันทร์จิตโกสินทร์ ราชกรม
ความคิดเห็น
ในการนำบทประพันธ์มาผลิตเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ซ้ำๆนั้น เป็นเพราะเนื้อหาของเรื่องสนุก ประทับใจผู้ชม มีเนื้อหาอิงประวัติศาสตร์  อย่างเช่นเรื่องขุนศึกที่ได้นำมาเสนอนี้ มีฉากในการทำยุทธหัตถี ฉะนั้นในการทำเสียง เอฟเฟคต่างๆในแต่ละยุค จะพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆเพื่อให้ผู้ชมนั้นตื่นตาตื่นใจมีอารมณ์ร่วมกับละครหรือถาพยนต์นั้น และในแต่ละยุคที่นำมาRemakeนั้นได้นำมีการโปรโมทละครหรือถาพยนต์ผ่านสื่อต่างๆมากขึ้น เช่น เมื่อก่อนอาจมีแค่ติดโปสเตอร์ตามกำแพงฝาผนังของตึกราบ้านช่อง แต่ยุคสมัยนี้มีทั้งอินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และอื่นๆอีกมากมายทำให้การประชาสัมพันธ์ทั่วถึงทุกที่มากขึ้น ผู้ชมก็จะนำไปพูดคุยกันจนผู้ที่ไม่ได้ชม ก็จะรอคอยหรือเรียกร้องให้มีการนำละครหรือภาพยนตร์นั้นกลับมาทำใหม่เรื่อยๆ

นิเทศศาสตร์ยุคดิจิทัล

นิเทศศาสตร์ยุคดิจิทัล

เทคโนโลยีการสื่อสารมีการพัฒนาไปมากเลยทีเดียว เลยทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปรับสื่อสมัยใหม่มากขึ้นทิ้งสื่อดั้งเดิมไว้เป็นทางเลือก โดยเฉพาะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ กระทั่งสื่อดาวเทียม ที่กำลังเข้ามามีบทบาทแทนสื่อหลักการเรียนการสอนในแบบแยกส่วน เพื่อสร้างนักนิเทศศาสตร์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือการเรียนที่ออกแบบมาโดยตะวันตก อาจยังมีความจำเป็นในการก้าวเข้าสู่ระบบงานที่มีลักษณะงานแตกต่างกัน แต่สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับข่าว โดยเฉพาะวารสารศาสตร์ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ สื่อรูปแบบใหม่ (New Media) Digital Media : internet , mobile phone (sms . mms . ringtone) เวบไซต์ blog , online diary กำลังท้าทายสื่อสิ่งพิมพ์ และรุกเข้ามาในพื้นที่ของสื่อในโลกยุคอนาล็อคทุกวินาที

นักข่าวยุคอนาล็อค ที่ต้องใช้บริการรถโดยสารประจำทางไปทำข่าว กลับมาเขียนหรือพิมพ์ข่าวด้วยเครื่องพิมพ์ดีดโอลิมเปีย รุ่นยอดนิยม แล้วส่งไปเรียงพิมพ์ด้วยตัวตะกั่ว ก่อนทำแม่พิมพ์และพิมพ์ออกมาด้วยขั้นตอนและเวลายาวนาน จนกระทั่งมาถึงยุคกลางที่การเดินทางของข่าวผ่านแสง เปลี่ยนผ่านจากกิจการขนาดเล็ก มาเป็นอุตสาหกรรมสื่อ ที่มีระบบการผลิตทันสมัย รวดเร็ว การปรากฎตัวของข่าวผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังเสมือนทากที่คืบคลานไปอย่างช้าๆ เมื่อเปรียบเทียบกับข่าวที่คล้ายซีตาร์ก้าวกระโดดไปในโลกของนิวมีเดีย ไม่ว่าหลักสูตรนิเทศศาสตร์ จะยังเป็นธรรมนูญแห่งชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่ก็ตาม แต่นักเรียนนิเทศศาสตร์รุ่นใหม่ จะต้องเริ่มเรียนรู้และเข้าใจหรือยังว่า โลกนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิตอลมีเดียที่เคยมีพรมแดนภาควิชาขวางกั้นนั้น บัดนี้ได้หลอมละลายเป็นโลกใบเดียวกันแล้ว


          ฟันธง! จบนิเทศฯไม่ตกงาน เปิดทีวีดิจิตอลช่องทุนหนาชิงคนข่าว
(http://tartoh.com/uploads/topics/2013-08-19/764211376881350.jpg)




วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โยฮัน กูเตนเบิร์ก ผู้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์

ก่อนอื่นมาเริ่มด้วยประวัติของ กูเตนเบิร์กกันนะครับ
JoHannes Gutenberg 1

บิดาแห่งการพิมพ์ (ค.ศ. 1398-1468)
อัจฉริยะผู้สร้างเครื่องพิมพ์
สิ่งประดิษฐ์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกนานัปการ



ถึงกระนั้น เหตุที่กูเตนเบิร์กได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งการพิมพ์ก็เนื่องมาจากเขาเกิดในดินแดนยุโรปที่มีตัวอักษรแค่ 26ตัว และปัญญาชนของโลกใช้วิทยาการนี้เผยแพร่ความคิด เขาจึงได้ชื่อว่าผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ เพราะวิทยาการของเขาส่งผลต่อวิทยาการแขนงต่างๆของโลกสืบมา
โยฮันเนส เจนส์ไฟลช์ ลาเดน ซูม กูเตนเบิร์ก (Johannes Gensfleisch zur Laden Zum Gutenberg) เกิดราวปี ค.ศ. 1398 ที่เมืองไมนซ์(Mainz) ประเทศเยอรมนี บิดาเป็นขุนนางขั้นสูงชั้นสูง ชื่อ ไฟร์ล เจนส์ไฟร์ล ซูร์ ลาเดน (FFriele Gensfleisch Zur Laden) ส่วนมารดาชื่อ เอลซ์ ไวริช (Else Wyrich)
ในวัยเด็ก กูเตนเบิร์กติดตามบิดาไปโบสถ์เพื่อดูการพิมพ์ภาพ และเห็นว่าการแกะสลักบล็อกไม้เป็นเรื่องยากส่งผลให้หนังสือมีราคาแพงและไม่ค่อยแพร่หลาย เขาจึงใฝ่ฝันอยากสร้างเครื่องที่สามารถพิมพ์หนังสือได้รวดเร็วนับแต่นั้นมา
ราว ค.ศ. 1411 ประเทศเยอรมนีเกิดเหตุจลาจล บ้านเรือนกว่าร้อยหลังคาเรือนถูกยึด กูเตนเบิร์กพลัดถิ่นไปอยู่ที่เมืองอัลทา (Alta Villa) เข้าเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเออเฟิร์ต (The University of Erfurt) ดังที่มีชื่อปรากฏในบันทึกของมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ. 1419 ซึ่งเป็นปีเดียวกับบิดาของเขาเสียชีวิต
หลังจากนั้น ไม่มีใครรู้ชะตากรรมของกูเตนเบิร์กอีกเลย กระทั่งพบจดหมายของเขา เมื่อเดือนมีคม ค.ศ. 1434 ว่าเขาพักแรมอยู่ที่สตาสบูร์ก (Strasbourg) ทำงานเป็นลูกจ้าในร้านตัดกระจก เขาประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และอักษรโลหะ 26 ชิ้นที่มีขนาดเท่ากันได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1448 กูเตนเบิร์กเดินทางกลับเมืองไมนซ์ เพื่อยืมเงินญาติและเพื่อนมาลงทุนทำโรงพิมพ์ สุดท้ายเพื่อนชื่อโยฮันน์ ฟัสต์ (Johann Fust) ให้ยืมเงิน 800 กิลเดอร์ (Gilder)
ค.ศ. 1455 เครื่องพิมพ์กูเตนเบิร์กพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิลออกมาราว 800 เล่ม เป็นที่รู้จักกันในชื่อไบเบิ้ลของกูเตนเบิร์ก’ (The Gutenburg Bible) จากผลงานครั้งนี้ ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งจากสังฆราชเมืองไมนซ์ให้เป็นมหาดเล็ก และได้รับเงินบำนาญอีกด้วย
ต่อมาปี ค.ศ. 1475 วิลเลียม แคกซ์ตัน (William Caxton) ช่างพิมพ์ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาเครื่องพิมพ์เพื่อตีพิมพ์หนังสือ Recuyell of the Histoyes of Troye นับเป็นหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกของโลก

วิทยาการด้านการพิมพ์ได้แพร่หลายสู่ประเทศต่างๆอย่างรวดเร็ว ที่เมืองเวนิช(Venice) ประเทศอิตาลี อัลดุลมานูติอุส (Aldus Manutius) ช่างพิมพ์สามรถประดิษอักษรตัวเอน รวมถึงรูปแบบตัวอักษรที่เรียบง่ายเป็นจำนวนมาก
แม้กูเตนเบิร์กจะไม่ใช่คนแรกที่คิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ แต่สิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ก็คือ เขามีส่วนสำคัญนการทำให้วิทยาการต่างๆของโลกได้รับการเผยแพร่ กูเตนเบิร์กถึงแก่กรรมที่บ้านเกิด เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1468 ศพของเขาถูกนำไปฝังที่โบสถ์นิกายฟรังซิส (Franziskanerkiche) ซึ่งต่อมาโบสถ์แห่งนี้กับสุสานถูกทำลาย ทำให้หลุมศพของกูเตเบิร์กหายสาบสูญไปด้วย

 ผลกระทบของการใช้นวัตกรรมการพิมพ์
            เมื่อเกิดการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบเรียงตัวอักษร ทำให้เกิดผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงต่อสังคม ดังนี้
            3.1 การลดต้นทุนผลิตหนังสือ เพราะแต่เดิมใช้วิธีคัดลอกด้วยมือหรือพิมพ์ด้วยบล็อกไม้ ทำให้การผลิตหนังสือต้องใช้ต้นทุนสูงและได้หนังสือจำนวนจำกัด แต่เครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กทำให้สามารถผลิตหนังสือได้จำนวนมากและมีต้นทุนต่ำลง
            3.2.ความรู้และวิทยาการแพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะผู้คนสามารถซื้อหนังสืออ่านได้ง่ายกว่าเดิมและเกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย โดยนักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากตำรวจในห้องสมุด
            3.3การลดบทบาทความสำคัญของบาทหลวง และคริสต์จักร แต่เดิมพระหรือบาทหลวงเป็นผู้ผูกขาดการรู้หนังสือ ดังนั้น เมื่อมีสิ่งประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กทำให้งานเขียนประเภทต่าง  แพร่หลายอย่างรวดเร็วผู้คนฉลาดมากขึ้นไม่ยอมให้ถูกครอบงำหรือชี้นำทางความคิดจากบาทหลวงหรือคริสตจักรเหมือนดังแต่ก่อน
            3.4 การเผยแพร่ความคิดมนุษยนิยม (Humanism) กลุ่มความคิดมนุษยนิยมตระหนักถึง ความสามารถและความสำคัญของมนุษย์ที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นแก่สังคม และต้องการชำระความคิดทางศาสนาให้บริสุทธิ์ งานเขียนของกลุ่มนักคิดมนุษยนิยมได้รับการพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง และมีอิทธิพลต่อขบวนการปฏิรูปศาสนาในเวลาต่อมา
            3.5.การใช้แท่นพิมพ์เป็นอาวุธในการปฏิรูปศาสนา ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดย มาร์ติน ลูกเทอร์ (Martin Luther) นักบวชชาวเยอรมัน ได้จัดพิมพ์จุลสารเผยแพร่ความคิดและข้อเรียกร้องให้คริสตจักรและพระสันตะปาปา (Pope) ที่สำนักวาติกัน แก้ไขข้อปฏิบัติให้ถูกต้องตามคัมภีร์ไบเบิล
            การพิมพ์เผยแพร่งานเขียนดังกล่าว มีผู้อ่านเห็นด้วนจำนวนมากจนเกิดการแยกตัวตั้งเป็นนำกายใหม่เรียกว่า "โปรเตสแตนท์” (Protestant) ไม่ขึ้นต่อคริสตจักรคาทอลิกอีกต่อไป

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเริ่มต้น ชีวิตเด็กใหม่

 ชีวิตเด็กใหม่

            พูดถึงชีวิตเด็กใหม่ในรั้วของมหาวิทยาลัยแล้ว คงต้องพูดถึงการปรับตัวก้าวขึ้นเป็นผู้ใหญ่อีกขั้นนึง ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบและหมั่นเพียรเพิ่มเป็นเท่าตัว สำหรับผมชีวิตเด็กใหม่นั้นเป็นช่วงเวลาเพียงครั้งเดียวในชีวิตที่จะได้เข้าร่วมกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัยและของคณะและของสาขาที่เรียน ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่าที่โดนรุ่นพี่ว้ากใส่ ตะโกนใส่ ตลอดกิจกรรมรับน้องนั้นมันให้อะไรบ้าง แต่พอรับน้องเสร็จ ผมได้เห็นการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนๆหรือผมต่างก็เปลี่ยนไปกลายเป็นรุ่นน้องของมหาวิทยาลัยนี้ หลังจากนั้นก็จะมีกิจกรรมต่างๆอีกมากมายที่เราต้องเข้าร่วมหรือแล้วแต่ความสมัครใจ ผมก็เข้าร่วมกิจกรรมบ้างเป็นบางครั้งเพราะว่าตัวผมนั้นได้ผ่านการรับน้องมาแล้ว2ปี จึงเกิดอาการเบื่อหน่ายและรู้ทันเกมส์ต่างๆทั้งหมดแล้ว

            จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในช่วงเดือนแรกของชีวิตมหาวิทยาลัยเป็นอะไรที่สนุกสุดๆแล้ว หากการรับน้องที่ดีนั้นควรจะเป็นระบบที่ดีเพื่อจะได้เด็กใหม่เฟรชชี่ที่ดีมีประสิทธิภาพ และชีวิตเด็กใหม่ก็จะเป็นประสบการณ์ ความทรงจำที่ดีสำหรับเด็กๆเฟรชชี่